บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน จินตนา
สุขสำราญ
วันที่ 16 เดือน ตุลาคม 2557
ความรู้ที่ได้
การเรียนในวันนี้
เป็นการนำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน
ของเล่นของเพื่อนแต่ละคนน่าสนใจและสามารถนำมาสอนวิทยาศาสตร์ได้
สำหรับของเล่นของดิฉัน คือ รถพลังลม
ชื่อของเล่น รถพลังลม
อุปกรณ์
1. กล่องนม
2. แก้วกระดาษ
3. หลอดดูดน้ำ
4. ไม้เสียบลูกชิ้น
5. เทปกาว
6. กาวน้ำ
7. ฝาขวดพลาสติก
8. กระดาษสี
วิธีทำ
1. ตัดหลอดดูดน้ำ
2 หลอดให้ยาวกว่าด้านกว้างของกล่องนมเล็กน้อย
ตัดกระดาษให้เป็นรูปวงกลม 4 อัน
ไม้เสียบลูกชิ้น 1 คู่ และฝาขวดน้ำ 4
ฝา
2.
ใช้กระดาษสีลายต่างๆมาห่อกล่องนมเพื่อทำเป็นตัวรถ แล้วนำไม้เสียบลูกชิ้นมาติดไว้ด้านล่างของฐาน
ทั้ง 2 สองข้าง
3. ใช้กระดาษแข็งที่ตัดเป็นวงกลม ติดในฝาขวด ให้ครบทั้ง 4 ฝา แล้วเจาะรู
4. หลังจากนั้น
ใช้ฝาขวดติดปลายไม้เสียบลูกชิ้นทั้ง 4 ด้าน และ นำมาติดกับฐานกล่องนมที่ทำไว้แล้ว
5. ติดแก้วไว้บนฐาน และตกแต่งให้สวยงาม
พร้อมเล่น
วิธีเล่นรถพลังลม
ใช้ปากเป่าเพื่อให้รถเคลื่อนตัวไปข้างหน้า
สามารถเล่นแข่งกันได้เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน
รถพลังลมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
"แรงดันอากาศ" คือ
แรงที่เกิดจากอนุภาคของอากาศที่เคลื่อนที่ชนกันเองตลอดเวลาในทุกทิศทางพุ่งมาชนผนังภาชนะ ดังที่ประดิษฐ์ รถพลังลมขึ้น ซึ่งการเล่นรถพลังลม
ก็ต้องใช้อากาศ โดยเราเป่าปากแก้ว เพื่อให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ โดยใช้เล่นแข่งกันได้ ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
และความสนุกสนาน
การนำไปประยุกต์ใช้ (Applied)
1. สามารถนำสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ไปสอนเด็กได้
2. สื่อของเล่นที่ทำ คือ รถพลังลม
สามารถนำไปสอนเด็กในเรื่องของแรงดันอากาศได้
3 สารถนำไปสอนเด็กได้ โดยครูเป็นผู้เตรียมอุปกรณ์
เจาะรูให้ แล้วให้เด็กเป็นผู้ประกอบและตกแต่ง
เทคนิคการสอน (Teaching Methods)
1.
สื่อของเล่นที่นักศึกษาทำมา
อาจารย์จะคอยแนะนำความเหมาะสมของสื่อ
2.
อาจารย์ให้อิสระนักศึกษาเลือกทำสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
การประเมิน (Assessment)
ประเมินตนเอง (Assessment Self)
- เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
- ตั้งใจเรียน
ตอบโต้กับครูเมื่อถามคำถาม
- ทำสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ได้เหมาะสม
ประเมินเพื่อน (Assessment Friend)
- เพื่อนๆตั้งใจเรียน
ตอบโต้กับครูได้ดี
- เพื่อนบางคนคุยเสียงดัง
เมื่อทำกิจกรรม
-
สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ของเพื่อนน่าสนใจ และมีความเหมาะสม
ประเมินครู (Assessment Teachers)
-
ครูสอนโดยใช้คำถามกระตุ้นเด็กอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เด็กตื่นตัวพร้อมจะเรียน
-
ครูใช้คำถามซ้ำๆกับเด็กเพื่อให้เด็กจำได้
- ครูคอยแนะนำความเหมาะสมของสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ทำมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น