วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุปบทความ เรื่อง จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ ....สนุกคิดกับของเล่นวิทย์

   ของเล่นนั้น อยู่คู่กับเด็กทุกคน ทั้งของเล่นพื้นบ้านที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยสืบทอดมาตั้งแต่โบราณกาล  และของเล่นวิทยาศาสตร์ ที่สามารถกระตุ้นและจุดประกายความสนใจในวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กๆ ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายได้  โดยเฉพาะในเรื่องของวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
  ด้วยสโลแกนประจำใจของคุณครูนพพร  ก็คือ เรียนสนุก นั่งลุกสบาย ได้ความรู้”  กล่าวคือ เวลาที่เรียน นักเรียนไม่จำเป็นต้องนั่งอยู่กับที่ สามารถเคลื่อนไหวได้ตามธรรมชาติของเด็กๆ เพราะคุณครูรู้ดีว่า เด็กๆ ในวัยนี้ อดรนทนไม่ได้ที่จะนั่งอยู่กับที่นานๆ   นักเรียนจึงมีความสุข แฮปปี้มากๆ  ในยามที่ได้เรียนกับคุณครูท่านนี้ 
    กิจกรรม  สนุกคิดกับของเล่นวิทยาศาสตร์”   นี้เด็ก ๆ จะได้ทั้งความสนุกสนาน ประสบการณ์  ใหม่ๆ การแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ   ในส่วนของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนนั้นก็หาไม่ยาก ได้มาจากวัสดุในท้องถิ่น หรือวัสดุเหลือใช้ เช่น  กระดาษ  ขวดพลาสติก  หลอดกาแฟ แก้วพลาสติก เป็นต้น
    เพียงแค่ใช้กรรไกร ไม้บรรทัด คัทเตอร์ กาว สก๊อตเทป ผสมผสานกับจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในเชิงออกแบบและเทคโนโลยีระดับประถมเข้าไป ก็ออกมาเป็นของเล่นแสนสนุกแบบต่างๆ และสามารถอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ได้มากมาย
      แตร ทำจากขวดพลาสติกใส เทปกาว ลูกโป่ง วิธีเล่น คือ เป่าลมลงไปตรงรูเล็กๆ ด้านข้างของขวดที่เจาะไว้ก็จะเปิดเสียง  แตรของเล่นนี้ ใช้หลักการที่ทำให้เกิดเสียงเหมือนเครื่องดนตรีชนิดเป่าต่างๆ
      หลอดหมุน เป็นของเล่นที่สร้างจากหลอดแบบงอ 2 หลอด ที่มีขนาดใหญ่กว่ากันเล็กน้อย ใช้หลักการทำงานของแรงดันอากาศที่เป่าจะผ่านหลอดออกมาทางรูที่ตัดปลายเฉลียงไว้ จะผลักอากาศด้านนอกขับเคลื่อนหลอดไปข้างหน้า จึงทำให้หลอดหมุนไปรอบๆ
      คุณครูนพพร มีช้าง กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนนี้ว่า ครูต้องการให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ ให้รู้หลักการง่ายๆ อยากให้นักเรียนมีความสุข ให้เกิดความรู้ที่ตกตะกอนในใจที่นักเรียนได้มาจากการคิดด้วยตัวเอง ได้ลงมือทำ และเรียนอย่างมีความสุข

     “การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับผู้เรียนนั้น  ครูสามารถจัดได้ทั้งในโรงเรียน นอกห้องเรียน ทุกที่และทุกสถานการณ์ ครูจะทำอย่างไรให้สนุกกับการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้กับชีวิตประจำวัน เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สนใจโลกแห่งวิทยาศาสตร์ อยากรู้อยากเห็น ต้องการค้นหาคำตอบของปัญหานั้นๆ”  ครูนพพรกล่าวทิ้งท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น