วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 25 เดือน กันยายน 2557


ความรู้ที่ได้
    การเรียนในวันนี้เริ่มต้นโดยการทำกิจกรรม คืออาจารย์จะแจกกระดาษสีและคลิปหนีบกระดาษมาให้

ชื่อสื่อ กังหันลมจากกระดาษ (Paper Windmill)
ขั้นตอนการทำ
1.      ตัดกระดาให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2.      พับครึ่งกระดาษ
3.      ตัดกระดาษระหว่างกลาง ตัดขึ้นมาจนถึงเส้นกลางที่พับครึ่งกระดาษ
4.      พับกระดาษทั้งสองข้างที่ตัดแยกจากกันแล้วใช้คลิปหนีบไว้
5.      ตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ

วิธีเล่น
ให้นำเจ้ากังหันที่ทำเสร็จแล้วมาโยน โยนแบบไหนก็ได้แล้วสังเกตดู







สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม
1.      สอนเรื่องแรงโน้มถ่วง Gravity
2.      สอนเรื่องแรงต้านทาน Tension resistance

3.      สอนเรื่องเรื่องแรงหมุน แรงเหวี่ยง Strong rotation,Centrifugal

     หลังจากนั้น ก็เป็นการนำเสนอบทความของเพื่อน โดยสรุปออกมาได้ดังนี้





การนำไปประยุกต์ใช้ (Applied)

1. สำหรับกิจกรรมที่ทำตอนต้นคาบ คือกิจกรรมกังหันลมจากกระดาษ  สามารถนำไปให้เด็กปฐมวัยทำได้ เพราะวิธีทำไม่ซับซ้อน
2. กิจกรรมที่ทำนำไปสอนเด็กในเรื่องของแรงโน้มถ่วง แรงต้านทาน แรงหมุน แรงเหวี่ยง ฝึกการสังเกตของเด็กว่าทำไมกระดาษมันถึงหมุน หรือบางอันทำไมมันตกพื้นช้า
3 สามารถนำไปจัดกิจกรรม ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็กได้อย่างเหมาะสมกับวัย

เทคนิคการสอน (Teaching Methods)

1. การสอนโดยถามตอบ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการอยากเรียน
2. ถามคำถามซ้ำๆ เพื่อให้เด็กจำได้
3. มีการจัดกิจกรรมตอนต้นคาบเพื่อกระตุ้นให้เด็กพร้อมที่จะเรียน
4. อาจารย์บอก แนะนำเรื่อง บล็อก สำหรับคนที่ไม่ได้ดำเนินการหรือยังไม่มีความคืบหน้าก็ให้รีบทำ


การประเมิน (Assessment)

ประเมินตนเอง (Assessment Self)

 - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ

- ตั้งใจเรียน ตอบโต้กับครูเมื่อถามคำถาม


ประเมินเพื่อน (Assessment Friend)

 - เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตอบโต้กับครูได้ดี

- เพื่อนบางคนคุยเสียงดัง เมื่อทำกิจกรรมตอนต้นคาบ


ประเมินครู (Assessment Teachers)

 - ครูสอนโดยใช้คำถามกระตุ้นเด็กอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เด็กตื่นตัวพร้อมจะเรียน
- ครูใช้คำถามซ้ำๆกับเด็กเพื่อให้เด็กจำได้
- ก่อนเรียนอาจารย์จะมีกิจกรรมมาให้ทำเกือบทุกคาบ
- เมื่อเรียนเสร็จ ท้ายคาบอาจารย์จะแนะนำ บอกเกี่ยวกับบล็อก สำหรับผู้ที่ยังไม่มีองค์ประกอบของบล็อกหรือยังไม่ได้ดำเนินการอะไรอาจารย์ก็จะกระตุ้นให้รีบทำ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น