วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  4 ธันวาคม 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20.



ความรู้ที่ได้
       การเรียนการสอนในวันนี้ เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายของเทอม ในวันนี้เป็นการเก็บตกการนำเสนองานวิจัย 1 คน และได้ทำแผ่นพับ

การนำเสนองานวิจัย (Research Report)

 งานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย         
 ผู้วิจัย            นงลักษณ์ บุญระชัยสวรรค์
                     กิจกรรมไข่หมุน
 ทักษะวิทยาศาสตร์  การสังเกตและการเปรียบเทียบ
   
      หลังจากการนำเสนอวิจัยเสร็จ อาจารย์ให้ทำแผ่นพับข่าวประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ปกครองว่า นักเรียนกำลังเรียนเรื่องอะไร และขอความร่วมมือกับผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำวิจัยที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอ ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต โดยการนำแผนการสอน วิธีการสอนหรือตัวอย่างตามงานวิจัยไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้  
     ในแผ่นพับที่ทำในวันนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอน และการเป็นครูที่ดีได้ในอนาคต
      สามารถนำแผ่นพับในแต่ละหน่วยของเพื่อนแต่ละกลุ่มมาปรับใช้ มาประยุกต์เพื่อเป็นแนวทางในการเรียน

การประเมินผล (Evaluation)

ประเมินตนเอง (Self)
       แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการเรียน ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจฟังเพื่อนเมื่อเพื่อนออกไปนำเสนอวิจัย ในกิจกรรมกลุ่มก็ให้ความร่วมมือในการคิด การตกแต่งแผ่นพับเป็นอย่างดี

 ประเมินเพื่อน
       เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจฟังเพื่อนออกไปนำเนองานวิจัย เพื่อนๆช่วยกันทำแผ่นพับ บางกลุ่มมีการตกแต่งแผ่นพับได้สวยงาม

ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  วันนี้เป็นการเรียนการสอนคาบสุดท้าย อาจารย์ก็จะคอยแนะนำ อาจารย์ก็จะคอยพูดเสริมตลอด สุดท้ายก่อนเลิกเรียนอาจารย์ให้พร ให้นักศึกษาทำข้อสอบให้ได้ เรียนได้ A สาธุ

สรุปโทรทัศน์ครู บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน ลูกแก้วเข้าแถว



   ในโทรทัศน์ครูที่ดูเป็นการทดลอง ลูกแก้วเข้าแถว 

      สื่อ อุปกรณ์
       ลูกแก้ว
       กระดาษ
       หลอด
       กาว

       - โดยขั้นแรกครูจะถามเด็กๆก่อนว่า เด็กๆเคยเล่นลูกแก้วกันไหม แล้วเด็กๆรู้ไหมว่าถ้าเราโยนลูกแก้วไปกระทบกันจะเกิดอะไรขึ้น
      - หลังจากนั้นครูนำลูกแก้วมาให้เด็กดู แล้วถามว่าลูกแก้วมีลักษณะยังไง” 
     - และครูได้แจกกระดาษกับหลอดเพื่อนำมาประดิษฐ์ พอทำเสร็จครูก็ถามเด็กว่า รู้ไหมว่าให้เด็กๆประดิษฐ์เพื่อมาทำอะไร” 
     - จากนั้นครูก็แจกลูกแก้วให้กับเด็ก แล้วถามเด็กว่า มีสีอะไรบ้าง 
     - แล้วให้เด็กลองเอาลูกแก้วกลิ้งไปตามแนวหลอด แล้วถามเด็กว่า มันเกิดอะไรขึ้น แล้วถ้าครูเอาลูกแก้วหลายๆลูกมารวมกันจะเกิดอะไรขึ้น
     -  จากนั้นครูแจกลูกแก้วให้เด็กคนละ 6 ลูกแล้วให้เด็กนำลูกแก้ว 5 ลูกวางต่อแถวกัน แล้วนำลูกแก้วลูกที่ 6 โยนไปกระทบยังลูกแก้วลูกที่5  
     - ผลปรากฏว่าลูกแก้วลูกที่ 1 ไหลหล่นลงมา แล้วครูใช้คำถามกับเด็กว่า ทำไมเป็นแบบนั้น      - จากนั้นครูก็สรุปให้เด็กๆฟังว่า ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่า ลูกแก้วมันมีพลังงานสะสมอยู่ในตัว ถ้าเราผลักออกไป พลังงานก็จะถูกถ่ายทอดไปยังลุกแก้วลูกต่อไป ดังนั้น ลูกแก้วลูกแรกมันกลิ้งหล่นเพราะมันไม่มีการถ่ายทอดให้กับลูกแก้วลูกใดเลย เช่นเดียวกันกับการเล่นสนุ๊กเกอร์

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  27 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.


ความรู้ที่ได้
      การเรียนการสอนในวันนี้ เป็นการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู 

การนำเสนองานวิจัย (Research Report)

 งานวิจัยเรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-   ทักษะทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านประสาทสัมผัส มี 4 ทักษะ
          - การสังเกต
          - การจำแนก
          - การวัด
          - มิติสัมพันธ์
-   หน่วย สัตว์เลี้ยงแสนดี อุปกรณ์ แผ่นภาพอาหารของสัตว์
          การจัดกิจกรรม
- ครูนำภาพมาให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่า สัตว์ไม่ได้กินอาหารจะเป็นอย่างไร

 งานวิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์เน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย

ทักษะทางวิทยาศาสตร์    การสังเกต   การประมาณ   การเปลี่ยนแปลง
-   ครูแนะนำกิจกรรม ครูบอกเด็กว่าจะพาไปเที่ยวรอบโรงเรียนให้เด็กส่องสิ่งที่มองเห็น
-   ครูให้เด็กส่องดูผ่านแว่นแล้วมองดูผ่านตา
-   ครูให้เด็กวาดภาพ จากสิ่งที่มองเห็น
ครูใช้คำถาม เด็กมองเห็นวัตถุของจริง เด็กมองเห็นเป็นอย่างไร และเด็กมองผ่านแว่นเป็นอย่างไร
สรุปลงความเห็นการมองผ่านแว่นขยายและไม่ใช้แว่นขยาย

งานวิจัยเรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

การคิดเชิงเหตุผล มีความจำเป็นต่อการดำรงชิวิตของมนุษย์และเป็นทักษะพื้นฐาน
เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
การคิดเชิงเหตุผลมี 3 อย่างคือ
การจำแนกประเภท
การจัดประเภท
ด้านอนุกรม
หน่วยสนุกน้ำ
หน่วยอากาศแสนสนุก
หน่วยพืชน่ารู้
หน่วยพลังงานแสนกล
หน่วยเรียนรู้ธรรมชาติ
หน่วยฉันคือใคร

 งานวิจัยเรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนก

ทักษะทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต การจำแนก การวัด การสื่อความหมาย  การลงความเห็น  มิติสัมพันธ์

การนำเสนอโทรทัศน์ครู

5.   เรื่อง เสียงมาจากไหน
6.   เรื่อง สอนวิทย์ คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
7.   เรื่อง เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
8.  เรื่อง หน่วยไฟ
9.  เรื่อง  -
10. เรื่อง  ขวดปั๊มและลิปเทียน
11.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง สีของกะหล่ำปลี
12.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง พลังจิตคิดไม่ซื่อ
13.  นมสีจากน้ำยาล้างจานสำหรับเด็กปฐมวัย
14.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง  ทะเลฟองสีรุ้ง
15.  สนุกคิดวิทย์ทดลอง
16.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง ทอนาโดมหาภัย
17.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง  ความลับของใบบัว
18.  การทดลองความแข็งของวัตถุ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำวิจัยที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอ ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต โดยการนำแผนการสอน วิธีการสอนหรือตัวอย่างตามงานวิจัยไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้  
     สามารถนำโทรทัศน์ครูที่เพื่อนได้นำเสนอ ไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและนำไปประยุกต์เพื่อจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้

การประเมินผล (Evaluation)

ประเมินตนเอง (Self)
       แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการเรียน ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจฟังเพื่อนเมื่อเพื่อนออกไปนำเสนอวิจัยและนำเสนอโทรทัศน์ครู มีการจดบันทึกในขณะเพื่อนนำเสนอ

ประเมินเพื่อน
       เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจฟังเพื่อนออกไปนำเนองานวิจัย งานวิจัยของเพื่อนน่าสนใจ โทรทัศน์ครูของเพื่อนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้

 ประเมินอาจารย์
     อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  วันนี้เป็นการนำเนอวิจัยและโทรทัศน์ครู และเป็นการเรียนการสอนคาบสุดท้าย อาจารย์ก็จะคอยแนะนำ 

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  20 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.



ความรู้ที่ได้
    การเรียนการสอนในวันนี้เริ่มต้นโดยการนำเสนอวิจัย จากนั้นส่งของเล่นวิทยาศาสตร์ และสุดท้ายทำวาฟเฟิล

งานวิจัย

1.      วิจัย เรื่องการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
      - แผนกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
-                    -  ศิลปะย้ำ
-                     - ศิลปะปรับภาพ
-                    -  ศิลปะเลียนแบบ
-                    -  ศิลปะบูรณาการ
-                  -  ศิลปะค้นหา

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
-         การสังเกต
-         การจำแนกประเภท
-         การสื่อความหมายข้อมูล
การลงความเห็น
-         มิติสัมพันธ์

2.      วิจัย เรื่องผลของการบันทึกประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือที่ใช้
-         แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบการบันทึก
-         แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
การมองเห็น/ เข้าใจความสัมพัน์ของวัตถุ

3.      วิจัย เรื่องผลของการจัดประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน

เครื่องมือที่ใช้
-           แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
-           แผนการจัดประสบการณ์เล่นตามมุมทางวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
-           การสังเกต
-           การจำแนกประเภท
-           การสื่อความหมายข้อมูล
 -        การลงความเห็น
-           มิติสัมพันธ์
-       การแสดงปริมาณ
-       การเปรียบเทียบ

4.      วิจัย เรื่องผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือที่ใช้
-           แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
-          แบบทดสอบวัดทักษะการจำแนก

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
-         การจำแนก
-         การเรียงลำดับ
-         การจัดกลุ่ม
-         การหาความสัมพันธ์

-         การเปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง



ของเล่นวิทยาศาสตร์










กิจกรรม Cooking วาฟเฟิล












 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำวิจัยที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอ ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต โดยการนำแผนการสอน วิธีการสอนหรือตัวอย่างตามงานวิจัยไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้ สำหรับของเล่นวิทยาศาสตร์สามารถนำไปสอนเด็กทำได้ บางชิ้นนำเข้ามุม และกิจกรรมการทำวาฟเฟิลก็สามารถนำไปจัดกับเด็ก ให้เด็กทำได้

การประเมินผล (Evaluation)

ประเมินตนเอง (Self)
       แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการเรียน ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจฟังเพื่อนเมื่อเพื่อนออกไปนำเสนอวิจัย มีการจดบันทึกในขณะเพื่อนนำเสนอ ทำสื่อของเล่นไปส่งได้สวยงาม และตั้งใจทำวาฟเฟิล อร่อยมากค่ะ

ประเมินเพื่อน
       เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจฟังเพื่อนออกไปนำเนองานวิจัย งานวิจัยของเพื่อนน่าสนใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ของเล่นของเพื่อนน่าสนใจ และเพื่อนทุกกลุ่มทำวาฟเฟิลน่ากิน บางกลุ่มทำบาง บางกลุ่มทำหนา

 ประเมินอาจารย์
     อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  วันนี้เป็นการนำเนอวิจัย อาจารย์ก็จะคอยแนะนำ อาจารย์ก็จะคอยพูดเสริมตลอด ของเล่นที่ทำมาชิ้นไหนไม่เหมาะสม อาจารย์ก็จะแนะนำให้ปรับปรุงใหม่ และสุดท้ายอาจารย์พาทำวาฟเฟิล ทุกคนให้ความสนใจมาก อยากให้ทำทุกอาทิตย์เรยค่ะ