วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  20 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.



ความรู้ที่ได้
    การเรียนการสอนในวันนี้เริ่มต้นโดยการนำเสนอวิจัย จากนั้นส่งของเล่นวิทยาศาสตร์ และสุดท้ายทำวาฟเฟิล

งานวิจัย

1.      วิจัย เรื่องการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
      - แผนกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
-                    -  ศิลปะย้ำ
-                     - ศิลปะปรับภาพ
-                    -  ศิลปะเลียนแบบ
-                    -  ศิลปะบูรณาการ
-                  -  ศิลปะค้นหา

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
-         การสังเกต
-         การจำแนกประเภท
-         การสื่อความหมายข้อมูล
การลงความเห็น
-         มิติสัมพันธ์

2.      วิจัย เรื่องผลของการบันทึกประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือที่ใช้
-         แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบการบันทึก
-         แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
การมองเห็น/ เข้าใจความสัมพัน์ของวัตถุ

3.      วิจัย เรื่องผลของการจัดประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน

เครื่องมือที่ใช้
-           แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
-           แผนการจัดประสบการณ์เล่นตามมุมทางวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
-           การสังเกต
-           การจำแนกประเภท
-           การสื่อความหมายข้อมูล
 -        การลงความเห็น
-           มิติสัมพันธ์
-       การแสดงปริมาณ
-       การเปรียบเทียบ

4.      วิจัย เรื่องผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือที่ใช้
-           แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
-          แบบทดสอบวัดทักษะการจำแนก

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
-         การจำแนก
-         การเรียงลำดับ
-         การจัดกลุ่ม
-         การหาความสัมพันธ์

-         การเปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง



ของเล่นวิทยาศาสตร์










กิจกรรม Cooking วาฟเฟิล












 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำวิจัยที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอ ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต โดยการนำแผนการสอน วิธีการสอนหรือตัวอย่างตามงานวิจัยไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้ สำหรับของเล่นวิทยาศาสตร์สามารถนำไปสอนเด็กทำได้ บางชิ้นนำเข้ามุม และกิจกรรมการทำวาฟเฟิลก็สามารถนำไปจัดกับเด็ก ให้เด็กทำได้

การประเมินผล (Evaluation)

ประเมินตนเอง (Self)
       แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการเรียน ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจฟังเพื่อนเมื่อเพื่อนออกไปนำเสนอวิจัย มีการจดบันทึกในขณะเพื่อนนำเสนอ ทำสื่อของเล่นไปส่งได้สวยงาม และตั้งใจทำวาฟเฟิล อร่อยมากค่ะ

ประเมินเพื่อน
       เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจฟังเพื่อนออกไปนำเนองานวิจัย งานวิจัยของเพื่อนน่าสนใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ของเล่นของเพื่อนน่าสนใจ และเพื่อนทุกกลุ่มทำวาฟเฟิลน่ากิน บางกลุ่มทำบาง บางกลุ่มทำหนา

 ประเมินอาจารย์
     อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  วันนี้เป็นการนำเนอวิจัย อาจารย์ก็จะคอยแนะนำ อาจารย์ก็จะคอยพูดเสริมตลอด ของเล่นที่ทำมาชิ้นไหนไม่เหมาะสม อาจารย์ก็จะแนะนำให้ปรับปรุงใหม่ และสุดท้ายอาจารย์พาทำวาฟเฟิล ทุกคนให้ความสนใจมาก อยากให้ทำทุกอาทิตย์เรยค่ะ



สรุปงานวิจัย

วิจัย เรื่องผลของการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองประกอบอาหารกับแบบปกติที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ของ  วไลพร พงษ์ศรีทัศน์.


ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองประกอบอาหารและแบบปกติที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองประกอบอาหารกับวิธีจัดประสบการณ์แบบปกติ

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
                ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบถึงผลการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถเป็นแนวทางแก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยในการเลือกจัดประสบการณ์เพื่อเพิ่มพูนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กลุ่มที่เป็นเป้าหมาย
ประชากร เด็กชายหญิง อายุ 4-5 ปีที่กำลังศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2532 ในโรงเรียนสาธิตในสังกัดกรรมการฝึกหัดครู

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
o   แผนการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองประกอบอาหาร
o   แผนการจัดประสบการณ์แบบปกติ
o   แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ประโยชน์ที่ได้รับ
      เด็กได้มีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการดำรงชีวิตได้การสำรวจทักษะพื้นฐานพัฒนาการในแต่ละด้านของเด็กเกี่ยวกับการทำอาหารที่เป็นกิจกรรมที่ได้จัดการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดขึ้นมาเพื่อทราบทักษะที่มีและแนวทางการประเมินพัฒนาการของเด็กในด้านนั้นๆ

สรุปดังนี้
เนื้อหา 
    ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมสื่อสารการเรียนการสอนและวิธีการประเมินผลสำหรับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมนั้นสามารถแบ่งออกเป็นสามขั้นตอน
ขั้นเตรียม                           
     เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการสนทนา ถามคำถามตั้งปัญหา ใช้เพลงคำคล้องจอง หรือสื่ออย่างใดอย่างอย่างหนึ่ง เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
ขั้นปฏิบัติการ                     
     นักเรียนปฏิบัติการทดลองประกอบอาหาร โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเรียนรู้
 ขั้นสรุป

     โดยครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเพื่อนำไปสู่การสรุปผลที่ได้จากการปฏิบัติการ
บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  13 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.



ความรู้ที่ได้
    การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการนำเสนอวัย

1. งานวิจัยเรื่องการส่งเสริมทักษะการสังเกตโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา โดยใช้เกมการศึกษา 4 เกม คือ เกมจับคู่ภาพเหมือน ภาพเงา สังเกตภาพเหมือน และภาพตัดต่อ

2. งานวิจัยเรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการเล่านิทาน โดยใช้ทักษะการสังเกต การจำแนก และการสื่อสาร โดยเล่านิทานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ พอเล่าจบก็ทำการทดลองโดยให้เด็กพับเรือจากนั้นถามเด็กว่า ถ้านำไปลอยน้ำน้ำ เรือจะจมหรือลอย หลังจากนั้นก็ให้ใส่ลูกแก้วลงไปในเรือทีละลูก และให้เด็กสังเกตว่าต้องใส่ลูกแก้วกี่ลูกเรือจึงจะจม

3. งานวิจัยเรื่องการศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

4. งานวิจัยเรื่องผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

5. งานวิจัยเรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่เน้นกระบวนการ

6. งานวิจัยเรื่องการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

7. งานวิจัยเรื่องการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำวิจัยที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอ ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต โดยการนำแผนการสอน วิธีการสอนหรือตัวอย่างตามงานวิจัยไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้เหมาะสมได้

การประเมินผล (Evaluation)

ประเมินตนเอง (Self)
       แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการเรียน ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจฟังเพื่อนเมื่อเพื่อนออกไปนำเสนอวิจัย มีการจดบันทึกในขณะเพื่อนนำเสนอ

ประเมินเพื่อน
       เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจฟังเพื่อนออกไปนำเนองานวิจัย งานวิจัยของเพื่อนน่าสนใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

 ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  วันนี้เป็นการนำเนอวิจัย อาจารย์ก็จะคอยแนะนำ คอยถามเกี่ยวกับงานวิจัยที่หามา ว่าแผนการสอนเขาเขียนไว้ยังไง เขานำไปสอนยังไง อาจารย์ก็จะคอยพูดเสริมตลอด
บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  8 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.



 ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

       วันนี้ทุกกลุ่มได้ออกมานำเสนอแผนกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

มีหน่วยการสอนดังนี้

หน่วยกล้วย Banana (ชนิดของกล้วย)
เริ่มต้นโดยการร้องเพลงเกี่ยวกับชนิดของกล้วย แล้วให้เด็กตอบว่าในเนื้อเพลงมีกล้วยอะไรบ้าง จากนั้นครูมีรูปของกล้วยมาให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่าคือกล้วยชนิดอะไร ซึ่งมีคำเฉลยไว้ใต้ภาพ

หน่วยไก่ Chicken (ส่วนประกอบของไก่)
เริ่มต้นโดยมีรูปไก่มาให้เด็กดูแล้วชี้พร้อมกับบอกเด็กถึงส่วนต่างๆว่าคืออะไร
แล้วให้เด็กๆได้จับคู่ภาพส่วนประกอบของไก่ และมีกราฟฟิก(graphics)วงกลม ความเหมือนและความต่างของไก่ 2 ชนิด ให้เด็กแยกว่าไก่สองชนิดนี้มีส่วนไหนที่เหมือนกันและส่วนไหนไม่เหมือนกัน

หน่วยกบ Frog (วัฏจักรของกบ)
เริ่มต้นโดยเปิด VDO วัฏจักรของกบให้เด็กดู แล้วครูทบทวนเนื้อหาใน VDO กับเด็ก
แล้วครูนำภาพวัฏจักรของกบมาให้เด็กดู

หน่วยปลา Fish (ประโยชน์และข้อจำกัดของปลา)
เริ่มต้นโดยนำด้วยนิทาน เนื้อเรื่องนิทานเล่าถึงประโยชน์ของปลาและการกินปลาที่มีพิษ เช่น ปลาปักเป้า จากนั้นครูก็ทบทวนเด็กว่าปลาที่ตกได้มีอะไรเค้านำไปประกอบอาหารอะไร ครูมีตารางเปรียบเทียบประโยชน์และข้อจำกัดของปลา โดยให้เด็กตอบแล้วครูก็นำมาติด

หน่วยต้นไม้ Tree (ชนิดของต้นไม้)
ครูเริ่มกิจกรรมด้วยคำคล้องจอง แล้วถามเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ที่เด็กรู้จัก แล้วครูนำภาพต้นไม้มาให้เด็กดูแล้วให้เด็กตอบจากนั้นก็จัดหมวดหมู่ของต้นไม้

หน่วยข้าว Rice (ประโยชน์ของข้าว)
เป็นการประกอบอาหาร ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำทาโกยากิจากนั้นครูสาธิตการทำ โดยครูขออาสาสมัครเด็กมาร่วมกิจกรรม

หน่วยนม Milk (ลักษณะของนม)
ครูนำเข้าสู่การเรียนโดยร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ หลังจากนั้นครูพาเด็กทำกิจกรรมการทดลอง นมเปลี่ยนสี

หน่วยน้ำ Water (การอนุรักษ์น้ำ)
เริ่มต้นโดยครูร้องเพลงอย่าทิ้งเพื่อเตรียมความพร้อม จากนั้นครูเล่นนิทานเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ ไม่ทำงายแม่น้ำ และใช้คำถามแบบปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิดตาม
ปิดท้ายกิจกรรมด้วยการสรุป

หน่วยมะพร้าว  Coconut  (การปลูกมะพร้าว)
ครูมีรูปภาพการปลูกต้นมะพร้าวให้เด็กดู และมีการใช้คำถาม ถามเด็กว่าควรจะปลูกที่ไหนดี จากนั้นครูนำแผ่นภาพขั้นตอนการปลูกต้นมะพร้าวให้เด็กดูแล้วให้เด็กจัดเรียงขั้นตอนการปลูกต้นมะพร้าว

หน่วยผลไม้  Fruit (เมนูผลไม้ผัดเนย)
เป็นการประกอบอาหาร ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำผลไม้ผัดเนยให้เรียบร้อย
และครูสาธิตการทำผลไม้ผัดเนยให้เด็กดู ครูขออาสาสมัครมามีส่วนร่วมในกิจกรรม มาตักเครื่องปรุงรสใส่ผลไม้ผัดเนย พอเสร็จกิจกรรมครูถามถึงรสชาติของอาหารที่ทำในวันนี้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำแผนการสอนที่เพื่อนทุกกลุ่มได้ออกมาสอนไปปรับใช้ ไปประยุกต์ใช้สอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้ กลุ่มของดิฉันสอนหน่วยปลา ก็จะมีแผนการสอนเป็นของตัวเองคือ 1 หน่วยจะมี 5 แผน เราสามารถนำไปสอนจริงได้

การประเมินผล (Evaluation)

ประเมินตนเอง (Self)
       แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในกิจกรรมกลุ่ม ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจฟังเพื่อนเมื่อเพื่อนออกไปสอนแผน  มีการจดบันทึกในขณะเพื่อนสอน

ประเมินเพื่อน
       เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจทำการสอนแผน แผนบางกลุ่มสอนได้น่าสนใจ บางกลุ่มสอนยังไม่เป็น ส่วนมากเพื่อนๆจะให้ความสนใจในการสอนแผนวันที่ 5 เพราะเป็นการประกอบอาหาร

ประเมินอาจารย์
   -  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  วันนี้เป็นการสอนแผน อาจารย์ก็จะคอย

แนะนำ ให้เทคนิคการสอนแผนที่ถูกต้องกับทุกกลุ่ม