วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุปบทความ เรื่อง จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ ....สนุกคิดกับของเล่นวิทย์

   ของเล่นนั้น อยู่คู่กับเด็กทุกคน ทั้งของเล่นพื้นบ้านที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยสืบทอดมาตั้งแต่โบราณกาล  และของเล่นวิทยาศาสตร์ ที่สามารถกระตุ้นและจุดประกายความสนใจในวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กๆ ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายได้  โดยเฉพาะในเรื่องของวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
  ด้วยสโลแกนประจำใจของคุณครูนพพร  ก็คือ เรียนสนุก นั่งลุกสบาย ได้ความรู้”  กล่าวคือ เวลาที่เรียน นักเรียนไม่จำเป็นต้องนั่งอยู่กับที่ สามารถเคลื่อนไหวได้ตามธรรมชาติของเด็กๆ เพราะคุณครูรู้ดีว่า เด็กๆ ในวัยนี้ อดรนทนไม่ได้ที่จะนั่งอยู่กับที่นานๆ   นักเรียนจึงมีความสุข แฮปปี้มากๆ  ในยามที่ได้เรียนกับคุณครูท่านนี้ 
    กิจกรรม  สนุกคิดกับของเล่นวิทยาศาสตร์”   นี้เด็ก ๆ จะได้ทั้งความสนุกสนาน ประสบการณ์  ใหม่ๆ การแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ   ในส่วนของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนนั้นก็หาไม่ยาก ได้มาจากวัสดุในท้องถิ่น หรือวัสดุเหลือใช้ เช่น  กระดาษ  ขวดพลาสติก  หลอดกาแฟ แก้วพลาสติก เป็นต้น
    เพียงแค่ใช้กรรไกร ไม้บรรทัด คัทเตอร์ กาว สก๊อตเทป ผสมผสานกับจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในเชิงออกแบบและเทคโนโลยีระดับประถมเข้าไป ก็ออกมาเป็นของเล่นแสนสนุกแบบต่างๆ และสามารถอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ได้มากมาย
      แตร ทำจากขวดพลาสติกใส เทปกาว ลูกโป่ง วิธีเล่น คือ เป่าลมลงไปตรงรูเล็กๆ ด้านข้างของขวดที่เจาะไว้ก็จะเปิดเสียง  แตรของเล่นนี้ ใช้หลักการที่ทำให้เกิดเสียงเหมือนเครื่องดนตรีชนิดเป่าต่างๆ
      หลอดหมุน เป็นของเล่นที่สร้างจากหลอดแบบงอ 2 หลอด ที่มีขนาดใหญ่กว่ากันเล็กน้อย ใช้หลักการทำงานของแรงดันอากาศที่เป่าจะผ่านหลอดออกมาทางรูที่ตัดปลายเฉลียงไว้ จะผลักอากาศด้านนอกขับเคลื่อนหลอดไปข้างหน้า จึงทำให้หลอดหมุนไปรอบๆ
      คุณครูนพพร มีช้าง กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนนี้ว่า ครูต้องการให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ ให้รู้หลักการง่ายๆ อยากให้นักเรียนมีความสุข ให้เกิดความรู้ที่ตกตะกอนในใจที่นักเรียนได้มาจากการคิดด้วยตัวเอง ได้ลงมือทำ และเรียนอย่างมีความสุข

     “การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับผู้เรียนนั้น  ครูสามารถจัดได้ทั้งในโรงเรียน นอกห้องเรียน ทุกที่และทุกสถานการณ์ ครูจะทำอย่างไรให้สนุกกับการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้กับชีวิตประจำวัน เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สนใจโลกแห่งวิทยาศาสตร์ อยากรู้อยากเห็น ต้องการค้นหาคำตอบของปัญหานั้นๆ”  ครูนพพรกล่าวทิ้งท้าย
บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 9 เดือน ตุลาคม 2557



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากทางมหาลัยได้จัดสอบกลางภาค



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 2 เดือน ตุลาคม 2557

ความรู้ที่ได้
    การเรียนในวันนี้เริ่มต้นโดยการทำกิจกรรม  โดยอาจารย์สั่งให้นำแกนทิชชูมาคนละอัน เพื่อนำมาทำสื่อวิทยาศาสตร์

ชื่อสื่อ ดอกไม้บานหุบ
ขั้นตอนการทำ
1.      ตัดแกนทิชชูเป็นสองท่อน
2.      เจาะรูตรงกลางของแกนทิชชูทั้ง 2 ข้าง
3.      วาดรูปใส่กระดาษแล้วตัดเป็นวงกลม
4.      นำรูปที่วาดมาติดใส่แกนทิชชู
5.      นำเชือกมาร้อยใส่รูที่เจาะ
6.      ตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ

วิธีเล่น
ให้นำเชือกมาคล้องคอแล้วแล้วดึงไปมา ปรับระดับให้กว้างหรือแคบได้

การนำเสนอบทความ

                                                                                     
การนำไปประยุกต์ใช้ (Applied)

1. สำหรับกิจกรรมที่ทำตอนต้นคาบ คือกิจกรรมดอกไม้บานหุบ สามารถนำไปให้เด็กปฐมวัยทำได้ เพราะวิธีทำไม่ซับซ้อน
2. กิจกรรมที่ทำนำไปสอนเด็กในเรื่องของระยะห่าง ระดับ ความกว้างความแคบ
3 สามารถนำไปจัดกิจกรรม ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็กได้อย่างเหมาะสมกับวัย

เทคนิคการสอน (Teaching Methods)

1. การสอนโดยถามตอบ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการอยากเรียน
2. ถามคำถามซ้ำๆ เพื่อให้เด็กจำได้
3. มีการจัดกิจกรรมตอนต้นคาบเพื่อกระตุ้นให้เด็กพร้อมที่จะเรียน
4. อาจารย์บอก แนะนำเรื่อง บล็อก สำหรับคนที่ไม่ได้ดำเนินการหรือยังไม่มีความคืบหน้าก็ให้รีบทำ


การประเมิน (Assessment)

ประเมินตนเอง (Assessment Self)

- เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ

- ตั้งใจเรียน ตอบโต้กับครูเมื่อถามคำถาม


ประเมินเพื่อน (Assessment Friend)

 - เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตอบโต้กับครูได้ดี

- เพื่อนบางคนคุยเสียงดัง เมื่อทำกิจกรรมตอนต้นคาบ


ประเมินครู (Assessment Teachers)

- ครูสอนโดยใช้คำถามกระตุ้นเด็กอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เด็กตื่นตัวพร้อมจะเรียน
- ครูใช้คำถามซ้ำๆกับเด็กเพื่อให้เด็กจำได้
- ก่อนเรียนอาจารย์จะมีกิจกรรมมาให้ทำเกือบทุกคาบ

- เมื่อเรียนเสร็จ ท้ายคาบอาจารย์จะแนะนำ บอกเกี่ยวกับบล็อก สำหรับผู้ที่ยังไม่มีองค์ประกอบของบล็อกหรือยังไม่ได้ดำเนินการอะไรอาจารย์ก็จะกระตุ้นให้รีบทำ

วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 25 เดือน กันยายน 2557


ความรู้ที่ได้
    การเรียนในวันนี้เริ่มต้นโดยการทำกิจกรรม คืออาจารย์จะแจกกระดาษสีและคลิปหนีบกระดาษมาให้

ชื่อสื่อ กังหันลมจากกระดาษ (Paper Windmill)
ขั้นตอนการทำ
1.      ตัดกระดาให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2.      พับครึ่งกระดาษ
3.      ตัดกระดาษระหว่างกลาง ตัดขึ้นมาจนถึงเส้นกลางที่พับครึ่งกระดาษ
4.      พับกระดาษทั้งสองข้างที่ตัดแยกจากกันแล้วใช้คลิปหนีบไว้
5.      ตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ

วิธีเล่น
ให้นำเจ้ากังหันที่ทำเสร็จแล้วมาโยน โยนแบบไหนก็ได้แล้วสังเกตดู







สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม
1.      สอนเรื่องแรงโน้มถ่วง Gravity
2.      สอนเรื่องแรงต้านทาน Tension resistance

3.      สอนเรื่องเรื่องแรงหมุน แรงเหวี่ยง Strong rotation,Centrifugal

     หลังจากนั้น ก็เป็นการนำเสนอบทความของเพื่อน โดยสรุปออกมาได้ดังนี้





การนำไปประยุกต์ใช้ (Applied)

1. สำหรับกิจกรรมที่ทำตอนต้นคาบ คือกิจกรรมกังหันลมจากกระดาษ  สามารถนำไปให้เด็กปฐมวัยทำได้ เพราะวิธีทำไม่ซับซ้อน
2. กิจกรรมที่ทำนำไปสอนเด็กในเรื่องของแรงโน้มถ่วง แรงต้านทาน แรงหมุน แรงเหวี่ยง ฝึกการสังเกตของเด็กว่าทำไมกระดาษมันถึงหมุน หรือบางอันทำไมมันตกพื้นช้า
3 สามารถนำไปจัดกิจกรรม ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็กได้อย่างเหมาะสมกับวัย

เทคนิคการสอน (Teaching Methods)

1. การสอนโดยถามตอบ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการอยากเรียน
2. ถามคำถามซ้ำๆ เพื่อให้เด็กจำได้
3. มีการจัดกิจกรรมตอนต้นคาบเพื่อกระตุ้นให้เด็กพร้อมที่จะเรียน
4. อาจารย์บอก แนะนำเรื่อง บล็อก สำหรับคนที่ไม่ได้ดำเนินการหรือยังไม่มีความคืบหน้าก็ให้รีบทำ


การประเมิน (Assessment)

ประเมินตนเอง (Assessment Self)

 - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ

- ตั้งใจเรียน ตอบโต้กับครูเมื่อถามคำถาม


ประเมินเพื่อน (Assessment Friend)

 - เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตอบโต้กับครูได้ดี

- เพื่อนบางคนคุยเสียงดัง เมื่อทำกิจกรรมตอนต้นคาบ


ประเมินครู (Assessment Teachers)

 - ครูสอนโดยใช้คำถามกระตุ้นเด็กอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เด็กตื่นตัวพร้อมจะเรียน
- ครูใช้คำถามซ้ำๆกับเด็กเพื่อให้เด็กจำได้
- ก่อนเรียนอาจารย์จะมีกิจกรรมมาให้ทำเกือบทุกคาบ
- เมื่อเรียนเสร็จ ท้ายคาบอาจารย์จะแนะนำ บอกเกี่ยวกับบล็อก สำหรับผู้ที่ยังไม่มีองค์ประกอบของบล็อกหรือยังไม่ได้ดำเนินการอะไรอาจารย์ก็จะกระตุ้นให้รีบทำ