วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วิชา  การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน  08:30 - 12:20  น.



     การเรียนการสอนในวันนี้ ก่อนเรียนอาจารย์ให้ทำกิจกรรม อาจารย์แจกกระดาษสีและไม้มาคนแล้วให้วาดรูปอะไรก็ได้ที่สัมพันธ์กัน แล้วนำมาติดกับไม้ พอนำมาหมุนรูปที่เราวาดมันก็จะสัมพันธ์กัน ซึ่งดิฉันได้วาดรูปดอกไม้กับแจกัน(Flowers with Vase) ดังรูป


   หลังจากที่ทำกิจกรรมนี้เสร็จ อาจารย์ก็เปิดเพลงให้ฟัง เป็นเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งในเพลงสื่อความหมายออกมาว่า พิสูจน์ความรู้ (prove knowledge) ทดลอง (trials) และหาคำตอบ (answers)แล้วจะพบความจริง จากนั้นเพื่อนก็ออกมานำเสนอบทความ
          บทความที่ 1 เรื่อง เด็กๆอนุบาลสนุกกับกับสะเต็มศึกษา
          บทความที่ 2 เรื่อง โลกของเราอยู่ได้อย่างไร
          บทความที่ 3 เรื่อง บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์


สรุปความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอ เรื่องความลับของแสง




การนำไปประยุกต์ใช้ (Applied)

1. สำหรับกิจกรรมที่ทำตอนต้นคาบ คือกิจกรรมวาดภาพที่สัมพันธ์กัน สามารถนำไปให้เด็กปฐมวัยทำได้ เพราะวิธีทำไม่ซับซ้อน
2. สำหรับเรื่องของแสง สามารถนำไปสอนเด็กได้ว่าแสงเกิดจากอะไร แสงมีความสำคัญกับการดำรงชีวิตของเรายังไง
3 สามารถนำไปจัดกิจกรรม ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็กได้อย่างเหมาะสมกับวัย

เทคนิคการสอน (Teaching Methods)

1. การสอนโดยถามตอบ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการอยากเรียน
2. ถามคำถามซ้ำๆ เพื่อให้เด็กจำได้


การประเมิน (Assessment)

ประเมินตนเอง (Assessment Self)


- เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ

- ตั้งใจเรียน ตอบโต้กับครูเมื่อถามคำถาม

ประเมินเพื่อน (Assessment Friend)


- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตอบโต้กับครูได้ดี

- เพื่อนบางคนคุยเสียงดัง เมื่อทำกิจกรรมตอนต้นคาบ


ประเมินครู (Assessment Teachers)


- ครูสอนโดยใช้คำถามกระตุ้นเด็กอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เด็กตื่นตัวพร้อมจะเรียน

- ครูใช้คำถามซ้ำๆกับเด็กเพื่อให้เด็กจำได้

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วิชา  การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน  08:30 - 12:20  น.


ความรู้ที่ได้รับในการเรียนการสอน

        วันนี้เริ่มเรียนโดยให้เพื่อนมาสรุปบทความที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก  คือ 1.หลักการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 2. แนวทางสอนคิดเติม “วิทย์” ให้เด็กอนุบาล 3. อพวช.ผนึกพันธมิตรจัดงาน “วันนักวิทยาศาสตร์น้อย”หวังปลูกความรักวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย 4. การสอนลูกเรื่องการลดภาวะโลกร้อน  ซึ่งดิฉันได้สรุปออกมาได้ดังนี้


      หลังจากที่เพื่อนออกมาสรุปบทความเสร็จแล้วอาจารย์ได้สอนเนื้อหา เรื่อง ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งดิฉันก็สรุปออกมาได้ดังนี้




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-         สามารถนำเอาความรู้จากบทความของเพื่อนที่นำมาไปประยุกต์ใช้ว่าเด็กควรจะเรียนรู้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเน้นเนื้อหาให้มากเกินไป
-         จัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำโดยให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

เทคนิควิธีการสอน
-          การตอบคำถามโดยการวิเคราะห์
-          การใช้คำถามที่หลากหลายโดยการถามถามปลายเปิดให้เด็กได้คิด
-          การสรุปความรู้ที่ได้เรียนเพื่อการทดสอบความจำหรือความเข้าใจ

การประเมินหลังเรียน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและโต้ตอบกับอาจารย์บ้าง
เพื่อน :  เพื่อนๆตั้งใจเรียนตั้งใจตอบคำถามที่อาจารย์ถามอย่างเต็มที่และมีส่งเสียงดังบ้างนิดหน่อย
อาจารย์ :มีการสอนที่กระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาและสอนแต่ในเนื้อหาไปออกนอกกรอบ ใช้คำถามซ้ำๆกับนักศึกษา ทำให้นักศึกษาได้คิดตามเวลาถามจะใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์และตอบคำถาม

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
 
วัน พฤหัสบดี ที่ 4 เดือน กันยายน 2557
 
 
ความรู้ที่ได้โดยสรุปเป็น mind map
 
 
 
 
 
 
การนำไปประยุกต์ใช้
 
- สามารถนำไปเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้ปกครอง หรือคนในครอบครัวว่าควรให้ความรักความอบอุ่นแก่เด็กเพื่อส่งเสริมเด็ก
- จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ครบทุกด้านและจัดให้เหมาะสมกับวัย
 
บันทึกอนุทินครั้งที่ 2
 
วันพฤหัสบดี ที่ 28 เดือน สิหาคม 2557
 
 
 
 

วันนี้ติดสอบสัมภาษณ์ กยศ เรยไม่ได้เข้าเรียน ดิฉันจึงไปศึกษาเนื้อหาที่เรียนจากเพื่อนและสรุปความรู้ออกมาดังนี้
 
      ความกล้าแสดงออก ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย
1.พฤติกรรม = พัฒนาการ
 2.การเรียนรู้ หรือ การเล่น
 3.การอบรมเลี้ยงดู
 
สติปัญญา แบ่งได้ดังนี้
 - ความคิด เช่น  ความคิดเชิงเหตุผล เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  และ ความคิดเชิงสร้างสรรค์
  - การใช้ภาษา
 
พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา ภาษา
 พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การรับรู้ การซึมซับ
 การเรียนรู้ = การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเพื่อการมีชีวิตรอดในสังคม
 รับรู้ = ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
 *** วิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ คือ การเล่น
  การเล่น คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่สำคัญคือเด็กได้มีโอกาสเลือกเล่นด้วยตนเอง การจัดการเรียนการสอน การออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้
ความหมายของวิทยาศาสตร์
     วิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัว ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้ อยากเห็น ช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ จะช่วยเชื่อมโยงเซลล์สมองของเด็ก เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิดเป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้น
สรุป
วิทยาศาสตร์คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัว ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติเด็ก จะเกิดการปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก
การนำไปประยุกต์ใช้
-                  จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
-                  การจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก เพราะเด็กจะได้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
-                  ออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในเรื่องวิทยาศาสตร์รอบๆตัวของเด็ก


วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557


    บันทึกอนุทินครั้งที่ 1
 วันพฤหัสบดี ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

 

 การเรียนการสอนในวันแรก

     อาจารย์ได้ชี้แจงแนวการสอนที่เราจะต้องเรียนในเทอมนี้และได้ทำข้อตกลงในห้องเรียน
งานชิ้นแรกคือให้สร้างบล็อกของรายวิชานี้ โดยให้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษและสิ่งที่ต้องมีในการบันทึกการเรียน ได้แก่ เนื้อหาที่เรียน และการนำไปประยุกต์ใช้

 
องค์ประกอบของบล็อก ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

          1. ชื่อวิชาเป็นภาษาอังกฤษ

          2. รูป และข้อมูลส่วนตัว

          3. ปฏิทิน และนาฬิกา

          4. ลิงค์บล็อก

                - อาจารย์ผู้สอน

                -รายชื่อเพื่อน

                -หน่วยงานสนับสนุน

                -แนวการสอน

                - งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์

                - บทความ

                - เพลง

                - สื่อ(เพลง, เกม, นิทาน, แบบฝึกหัด, ของเล่น)
 
การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถสร้างบล็อกเพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับตัวเด็กได้เมื่อเราเป็นครูในอนาคต
- สามารถนำไปใช้กับวิชาอื่นได้
- สามารถสร้างเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนของแต่ละวิชาลงไว้ในบล็อกได้